“รับแปลเอกสาร รับแปลภาษา รับรองคำแปล”
ตำแหน่ง ที่ถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งของสถานเอกอัครราชทูต ก็คือ เอกอัครราชทูต ( Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary: เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม)เ ท่านผู้อ่านอาจจะได้ยินบ่อยๆ ในข่าวในพระราชสำนักค่ะ เวลาท่านเอกอัครราชทูตทั้งหลายเข้าถวายบังคมทูลลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อไปปฎิบัติราชการเป็นผู้แทนพระองค์ฯ ในต่างประเทศ ซึ่งคำนี้ หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับโดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง หากท่านเอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับก็จะเรียกว่า Non-resident Ambassador
อัครราชทูต ( Minister) ตำแหน่งทางการทูตนี้ ถ้าเห็นแค่ภาษาอังกฤษ อย่าคิดว่าเป็นรัฐมนตรีนะคะ เพราะว่าคำนี้ในทางการทูตจะหมายถึง เบอร์ 2 ของสถานเอกอัครราชทูตค่ะ เป็นตำแหน่งที่รองลงมาจากเอกอัครราชทูต
อุปทูต (Chargé d’affaires) ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งชั่วคราว ในกรณีที่ตำแหน่งของหัวหน้าคณะผู้แทนว่างลง หรือ หัวหน้าคณะผู้แทนไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ของตนได้ อุปทูตก็จะปฏิบัติหน้าที่แทนเป็นการชั่วคราว
ตำแหน่งอื่นๆ เรียงตามลำดับก็ได้แก่
อัครราชทูตที่ปรึกษา Minister Counsellor
ที่ปรึกษา Counsellor
เลขานุการเอก First Secretary
เลขานุการโท Second Secretary
เลขานุการตรี Third Secretary
ผู้ช่วยเลขานุการ Attaché
*** คำว่า “เลขานุการ” เป็นคำเรียกตำแหน่งของเจ้าหน้าที่การทูตค่ะ ไม่ใช่ตำแหน่ง เลขาฯ คนที่ 1 หรือ เลขาฯ คนที่ 2 หรือ ผู้ที่ทำงานเป็นเลขานุการผู้บริหาร อย่างที่หลายท่านเข้าใจนะคะ ซึ่งนักการทูตเหล่านี้ อาจจะปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เช่น พิธีการทูต สารนิเทศ เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น หรือ อาจจะปฎิบัติงานเป็นผู้ช่วยท่านเอกอัครราชทูตก็ได้ค่ะ
*** ส่วนคำว่าผู้ช่วยเลขานุการ (Attaché) เป็นตำแหน่งที่ใช้ในกระทรวงการต่างประเทศจะแตกต่างกับตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ หรือผู้ช่วยฝ่ายแรงงาน หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Defence attaché / Naval attaché หรือแม้กระทั่ง Commercial attaché นะคะ เนื่องจากผู้ช่วยทูตเหล่านี้จะเป็นข้าราชการระดับสูงของกระทรวงต่างๆ หรือฝ่ายทหาร ที่จะถูกส่งไปปฎิบัติงาน ณ สถานเอกอัครราชทูตเพื่อเป็นผู้ช่วยเอกอัครราชทูตในด้านต่างๆ และชื่อตำแหน่งจะแสดงถึงต้นสังกัดด้วย ดังนี้
Defence Attaché ผู้แทนทางทหารของ กองทัพ หรือของกระทรวงกลาโหม
Army Attaché ผู้แทนทางทหารของ กองทัพบก ภาษาไทยเรียกว่า ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก
Naval Attaché ผู้แทนทางทหารของ กองทัพเรือ หรือ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ
Air Attaché ผู้แทนทางทหารของ กองทัพอากาศ หรือ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ
Commercial Attaché ผู้แทนของกระทรวงพาณิชย์ หรือ ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์
Labour Attaché ผู้แทนของกระทรวงแรงงาน หรือ ผู้ช่วยทูตฝ่ายแรงงาน
*** สำหรับตำแหน่ง Attaché ของกระทรวงการต่างประเทศนั้น เป็นเจ้าหน้าที่ระดับที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในตำแหน่งสายการทูต ในอดีตเรียกว่าตำแหน่ง “นายเวร”
สถานกงสุลใหญ่
สถานกงสุลใหญ่จะตั้งอยู่ตามเมืองสำคัญต่างๆ ที่ไม่ใช่เมืองหลวงค่ะ เพื่อที่จะได้ปฎิบัติงานด้านการส่งเสริมผลประโยชน์ และคุ้มครองคนของชาติตนเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านเอกสาร นิติกรรมหรือหนังสือเดินทาง หรือโอกาสของคนและประเทศของตนเอง ในประเทศนั้นๆ ได้ทั่วถึงมากขึ้น
กงสุลใหญ่ (Consul – General) ก็คือหัวหน้าสำนักงาน หรือเบอร์หนึ่งของสถานกงสุลใหญ่ค่ะ
นอกจากนี้ในสถานกงสุลใหญ่ก็จะมีตำแหน่งอื่นๆ ได้อีกเช่น
รองกงสุลใหญ่ Deputy Consul-General
กงสุล Consul
รองกงสุล Vice Consul</FONT SIZE=2>
อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงต่างประเทศ (https://www.facebook.com/notes/175939392476269/)